วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บ้านวิทยาศาสตร์น้อย

บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  ตอน คุณบ้านเต้นบัลเล่ต์
 
โดยน้อง ๆ จากโรงเรียนพญาไท
 
 
 
โดยจะเริ่มเรื่องโดยการเล่านิทาน
 
เนื้อเรื่อง
 
คุณบ้านเป็นตาปลาที่เท้าเดินค่อยได้ โดยเด็ก ๆ ได้หาวิธีให้คุณบ้านเดินโดยไม่เจ็บเท้า โดยการนำลูกโป่ง
 
มาผูกไว้ที่ตัวคุณบ้านเต็มไปหมดในลูกโป่งนั้นได้ใส่ลูกแก้วไว้ เวลาคุณบ้านเดินก็จะไม่เจ็บเท้าและลูกโป่ง
 
ก็ไม่แฟบ
 
เด็ก ๆ จึงเกิดคำถาม ?
 
- ทำไมต้องเอาลูกแก้วใส่ไว้ในลูกโป่ง
 
กิจกรรม
 
เด็ก ๆ มีลูกโป่งคนละ 1 ลูก ให้เด็กเป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง พี่บอลเลยถามว่า " เราจะทำอย่างไรให้ลูกโป่ง
 
พองอยุ๋ได้นาน " เด็ก ๆ ตอบ มัดหนังยางให้แน่น ๆ พี่บอลเลยบอกว่า "งั้นเราลองมาใส่ลูกแก้วในลูกโป่ง"
 
แล้วให้น้อง ๆ ลองปล่อยลูกโป่ง ปรากฎว่า ลูกโป่งไม่แฟบ เพราะลูกแก้วไปอุดรูตรงปากลูกโป่ง
 
 



วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัย


วิจัยเรื่องการพัฒนาชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2

ผู้วิจัย สถิตย์ ศรีถาวร

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

1 เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2

ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

2 เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน

กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นอนุบาล 2

เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร

1 ชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้

-                   เรื่องแว่นขยายเป็นอุปกรณ์ช่วยขยายสิ่งต่าง ๆ

-                   เรื่องแสงช่วยในการมองเห็น

-                   เรื่องเสียงที่เกิดจากธรรมชาติ

-                   เรื่องเสียงที่เกิดจากการกระทำของตน

-                   เรื่องเรารับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้จากเสียง

2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้

นิยามศัพท์เฉพาะ

1 ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน หมายถึง สื่อประสมที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น

2 ชุดการสอนแบบการเรียนที่มีประสิทธิภาพ หมายถึง ชุดการสอนที่ผู้ศึกษา

ค้นคว้าพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน

ความสำคัญของการศึกษาคันคว้า

1 ได้ชุดการสอน เรื่อง หน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2 ที่มี

ประสิทธิภาพ

2 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูในการนำนวัตกรรม เทคโนโลยีการศึกษา

ไปพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

สรุปผลการวิจัย

1 ชุดการสอนหน่วยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดการสอนวิทยาศาสตร์น่ารู้ มีเกณฑ์

สูงกว่าก่อนเรียน

เด็กจะได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์

1 การสังเกต : เด็กจะเป็นผู้ลงมือทดลอง เช่น การใช้แว่นขยายการมองเห็น

ภาพต่าง ๆ เด็กจะสังเกตรูปที่เห็นและสามารถบอกลักษณะ รูปร่าง รูปทรง

ของที่มองเห็น

2 การจำแนกประเภท : เด็กสามารถแบ่งได้ว่า รูปภาพที่เด็กเห็นมีความเหมือน

ความต่างกันอย่างไร

3 การลงความคิดเห็น : เด็กได้ร่วมกันอภิปลาย

 

ความลับของแสง


ความหมาย
แสงคือคลื่นชนิดหนึ่งเหมือนกับคลื่นของน้ำทะเลมีความยาวของคลื่นสั้นมาก
และในขนาดเดียวกันเคลื่อนที่เร็วมาก 300,000 กิโลเมตร ต่อวินาที เปรียบให้
เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่ากับแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบใน 1 วินาที
ตาของเรานั้นมีรูเล็ก เรียกว่ารูรับแสง เมื่อภาพผ่านรูรับแสงก็จะกลับหัว
แต่ที่เราเห็นภาพเป็นปกติไม่กลับหัวเพราะสมองกลับภาพให้เป็นปกติโดย
อัตโนมัติ ในหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไป
ทางทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเวลา
เช่นเดียวกับการส่องกระจก จะกลับข้างตัวเราเสมอ เหมือนกับการที่เรา
ใส่นาฬิกาที่ข้างขวาแต่เมื่อส่องกระจกก็กลายเป็นใส่นาฬิกาข้างซ้าย
การหักแหของแสงเกิดขึ้นเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนละ
ชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำนั้นจะมี
ความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปอย่างได้ช้ากว่าในอากาศ
เส้นทางของแสงจึงหักแหไปด้วย จากนั้นเมื่อพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศ
แสงจะเคลื่อนที่ได้เร็ว เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
 เงาเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้เพราะแสง เป็นหลักธรรมชาติคือเงา
ของวัตถุจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามา
ขว้างทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืน จะสะท้อนแสง
บางส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการ
สะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงานั้นเอง
วัตถุต่าง ๆ บนโลกมีด้วยกัน 3 แบบ
 1 วัตถุโปร่งแสง คือแสงที่สามารถผ่านทะลุไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน
2 วัตถุโปร่งใส คือแสงที่ผ่านไปได้ทั้งหมด
3 วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้ามาที่ตาของเรา
ความสำคัญ
ถ้าไม่มีแสง เราก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ แสงมีความสำคัญกับเรามาก
ทั้งต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
เหตุผลสำคัญ
สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆ ได้ก็เพราะว่าแสงส่องมาโดนวัตถุ
แล้วแสงก็จะสะท้อนกับวัตถุเข้ามาสู่ตาเรา เราเลยมองเห็น เท่ากับว่าตา
ของเรานั้นคือจอสำหรับแสงที่จะสะท้อนเข้ามาหาวัตถุนั้นเอง ซึ่งการ
เดินทางของแสงจะพุ่งเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทาง
คุณสมบัติ
เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการมอง
เห็นสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวได้แล้ว ยังมีอีก เช่น ใช้แผ่นพลาสติกเพื่อบังคับ
ทิศทางของแสงไฟ ที่ออกมาจากโคมไฟ จะเห็นได้ว่าแสงมีประโยชน์
ต่อเรามากในการดำรงชีวิตประจำวันของเรา
 

บันทึกอนุทึกครั้งที่ 15

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
 
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 
วันศุกร์ ที่ 28  พฤศจิกายน  2557
 
กลุ่มเรียน 104 เวลา 13.10-16.40 น.
 
 
 
 
 
วันนี้อาจารย์ให้ออกแบบการทำแผ่นพับ เพื่อให้ผู้ปกครองรู้ข่าวสารทางโรงเรียน
 
 
 

 

 



การนำไปประยุกต์ใช้
 
ที่ได้เรียนมาสามารถนำไปเป็นเทคนิคในการออกแบบแผ่นพับขัอมูลข่าวสารทางโรงเรียน
 
ที่ส่งไปให้ผู้ปกครอง วิธีการเขียน การเรียบเรียงเนื้อหาข้อมูล การใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย
 
ไม่ซับซ้อน
 
การประเมินตนเอง
 
ตั้งใจทำกิจกรรมในห้อง ฟังข้อเสนอแนะที่อาจารย์บอก ตั้งใจทำงานกลุ่ม ให้ความ
 
ร่วมมือกับเพื่อน
 
การประเมินเพื่อน
 
เพื่อนๆ มีความตั้งใจในการทำงาน ทุกกลุ่มทำงานได้ออกมาดี
 
ประเมินอาจารย์
 
อาจารย์มาสอนก่อนเวลา มีอุปกรณ์พร้อมในการสอน อธิบายเนื้อหาที่เด็กไม่เข้าใจได้
 
ละเอียดและเข้าใจง่าย
 
 
 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
 
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 
วันศุกร์ ที่ 21 พฤศจิกายน  2557
 
กลุ่มเรียน 104 เวลา 13.10-16.40 น.
 
 
 
 

วันนี้อาจารย์ให้นำสื่อการสอนมาส่ง
 

 
 
สื่อประเภทสอนเรื่อง แรงดันของน้ำ

 
สื่อประเภทสอนเรื่อง เสียง

 
สื่อประเภทสอนเรื่อง แรงลม

 
สื่อประเภทสอนเรื่อง แรงโน้มถ่วง
 
กิจกรรมที่ 2 ทำวาฟเฟิล
 
 
อุปกรณ์

 
ขั้นตอนการทำ

 
ตบแต่งหน้าให้วาฟเฟิล

 
ทำการอบขนมวาฟเฟิล

 
เสร็จแล้วค่ะขนมวาฟเฟิล


 
กิจกรรมที่ 3 เพื่อนออกมานำเสนองานวิจัย
 
- เรื่อง ผลการจัดประสบการณ์โดยเน้นทักษะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาล 2
 
ผู้วิจัย ศรีนอน ศรีอ่ำ
 
- เรื่อง การพัฒนาชุดการสอนหน่อยวิทยาศาสตร์น่ารู้ ชั้นอนุบาล 2
 
ผู้วิจัย สถิตย์  ศรีถาวร
 
- เรื่องความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม กระบวนการ
 
ทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน
 
- เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานในการจัดกิจกรรมทำน้ำสมุนไพร
 
โทรทัศน์
 
- เรื่อง กิจกรรมส่องนกนอกห้องเรียน
 
- เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
 
- เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย
 
การประยุกต์ใช้
 
ใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยผ่านสื่อ และวิธีการทำขนมวาฟเฟิลที่เด็ก ๆ มีส่วนร่วม
 
การประเมินตนเอง
 
ตั้งใจฟังอาจารย์สอน และตั้งใจทำกิจกรรมในห้องเรียน เข้าเรียนตรงเวลา
 
การประเมินเพื่อน
 
เพื่อนๆ มีความตั้งใจในการทำกิจกรรม
 
การประเมินอาจารย์
 
อาจารย์สอนสนุก มีกิจกรรมให้นักศึกษาฝึกทำ อาจารย์อธิบายวิธีการทำ และเทคนิคกาสอนเด็กทำ
 
Cooking
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
 
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 
วันศุกร์ ที่ 18  ตุลาคม  2557
 
กลุ่มเรียน 104 เวลา 13.10-16.40 น.
 
 


ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นวันเรียนชดเชย อาจารย์สอนเรื่องวิธีการเขียนแผนการสอนเพิ่มเติม และยกตัวอย่าง 6 กิจกรรมหลัก

ควรจัดอยู่ในลักษณะใด

การนำไปประยุกต์ใช้

การนำเทคนิคที่ได้ไปเขียนแผนการสอนที่ถูกต้องและตรงตามพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึกเวลาอาจารย์ให้คำแนะนำ

ประเมินเพื่อน

เพื่อนๆ เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ มีการจดบันทึกเวลาอาจารย์สอน ตั้งใจฟัง

อาจารย์อธิบาย

ประเมินอาจารย์

อาจารย์อธิบายเนื้อหาที่นักศึกษาไม่เข้าใจได้ละเอียด และอาจารย์ได้แนะนำวิธีการเขียน

แผนการสอนค่ะ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
 
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
 
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
 
วันศุกร์ ที่ 24  ตุลาคม  2557
 
กลุ่มเรียน 104 เวลา 13.10-16.40 น.
 

วันนี้อาจารย์ให้นำของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ได้ประดิษฐ์มานำเสนอ

ของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันคือ "เป่าลมรถ"

อุปกรณ์

- กล่อง

- กระดาษ

- แก้ว

-ไม้ตะเกียบ 2 อัน

- ฝาขวดน้ำ 4 ฝา

- เทปกาว

- กรรไกร

วิธีการทำ

- นำกล่องที่เตรียมไว้มาห่อกระดาษ

- กล่องที่ห่อแล้วมาเจาะรูทั้ง 2 ด้าน

- นำฝาขวดน้ำทั้ง 4 ฝา มาเจาะรูตรงกลาง

- นำไม้ตะเกียบใปใส่ไว้ในรูที่เจาะไว้ตรงกล่อง

- นำฝาขวดน้ำที่เจาะรูไว้มาใส่ตรงปลายไม้ตะเกียบทั้ง 4 ด้าน

- นำแก้วมาติดไว้ที่บนกล่อง

วิธีการเล่น

เป่าลมตรงปากแก้ว เมื่อเป่าแรงรถจะวิ่งเร็วแต่ถ้าเป่าเบารถอาจจะวิ่งช้าหรือไม่วิ่งเลย

สอนวิทยาศาสตร์เด็ก

เรื่องแรงลม เมื่อลมกระทบกับวัตถุ วัตถุนั้นก็จะเคลื่อนที่


 
 
ชื่อของเล่นที่เพื่อนนำเสนอ
 


- จรวดด้วยแรงเป่า                    

- เครื่องบินกระดาษ

- กระป๋องโยกเยก                        

- ป.ปลาตากลม

- แก้วกระโดด                              

- บูมดมอแรง

- กบกระโดด                                

- ปืนยิงลูกบอลจากลูกโป่ง

- ธนูจากไม้ไอติม                        

- กระป๋องผิวปาก

- ตุ๊กตาโยกเยก                            

- เรือโจรสลักลอยน้ำ

- กังหันบิน                                  

- ไก่กระต๊าก

- แท่งยิง                                      

- เขาวงกต

- กงจักรมหัศจรรย์                        

-  หนูวิ่ง

- รถพลังลมลูกโป่ง                      

 - ลูกข่างจากแผ่นซีดี

- รถจากกระป๋องโค๊ก                    

- ไหมพรมเต้นรำ

- ป๋องแป๋ง                                      

- โมบายสีรุ้ง

- ฟองสบู่แสนเพลิน                        

- ขวดน้ำหนังสติ๊ก

- รถหลอดด้าย                                

- จั๊กจั่น

- กลองแขก                                    

- ประทัดกระดาษ

 - รถล้อเดียว                                  

- เป่าลมรถ

- เรือใบไม่ล่ม                                

- ทะเลในขวดน้ำ

- แก้วส่งเสียง
ความรู้ที่ได้รับ

ได้รู้วิธีการประดิษฐ์สื่อแต่ล่ะชิ้นที่เพื่อนนำมาเสนอ รู้เทคนิคการใช้สื่อสอนเด็ก การเลือกสื่อซื้อเด็ก

สื่อแต่ละชิ้นที่ทำให้เด็กควรมีคงทน แข็งแรง

การประยุกต์ใช้

วิธีการเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็ก 

 ประเมินตนเอง
 
ตั้งใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอสื่อ และจดบันทึกคำแนะนำของอาจารย์เรื่องสื่อที่เหมาะสมกับเด็ก

ประเมินเพื่อน

เพื่อน ๆ  ตั้งใจนำเสนอสื่อของตนเอง และตั้งใจฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสื่อที่นักศึกษาทำมา อาจารย์บอกถึงการเลือกสื่อให้เหมาะสมกับเด็ก

และเทคนิคการทำสื่อให้กับเด็ก

Template by:

Free Blog Templates