วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บทความ
 
สอนลูกเรื่องการจัดการขยะ (Teaching Children about Waste Disposal)
ผู้เขียน: อาจารย์ นิติธร ปิลวาสน์
 
บทนำ
การสอนลูกเรื่องการจัดการขยะ  หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการขยะด้วย

การเรียนรู้ประเภทของขยะ การคัดแยกขยะ การนำขยะไปกำจัดหรือทำลายอย่างถูกวิธี และการนำขยะ

ไปใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น การนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ หมายถึง การนำวัสดุหรือสิ่งของ

ที่ไม่ได้ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ที่อาจใช้ในลักษณะเหมือนเดิมหรือไม่เหมือนเดิมก็ได้ อาจดัดแปลงวัสดุนั้น

ให้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

การสอนเรื่องการจัดการขยะมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?

การจัดประสบการณ์ให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้วิธีการจัดการขยะเป็นการจัดประสบการณ์ที่เน้นการเรียนรู้โดย

ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์จริงในปัจจุบัน ซึ่งมีคุณค่าและประโยชน์

ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยดัง นี้

- ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในการเรียนรู้และการจัดการกับขยะของ

เด็กปฐมวัยป็นการปฏิบัติที่นำไปสู่การเรียนรู้ทั้งทางด้านการสังเกต การเปรียบเทียบ การจัดกลุ่ม

การนับ
- ส่งเสริมให้เด็กได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ เด็กจะได้เรียนรู้ผ่านการสังเกตด้วย

ประสาทสัมผัสทั้งห้า การสังเกตด้วยการใช้สายตา การสัมผัสด้วยมือ การดมกลิ่น เพื่อที่จะได้เรียนรู้

เกี่ยวกับประเภทของขยะและสามารถแยกแยะขยะได้ถูกต้อง เด็กอาจจะเกิดข้อสงสัยว่าขยะบางอย่าง

มีพิษภัยอย่างไร ครูสามารถนำไปสู่การทดลองและสรุปผลให้เด็กพบความจริงได้      

- ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้เรื่องสี จากกิจกรรมการคัดแยกขยะใส่ลงในถังสีต่างๆ ทำให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับสีและ

นำไปสู่การเรียนรู้สีอื่นๆในธรรมชาติ     

ตัวอย่างการจัดกิจกรรม

- การจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) เป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กได้สร้างองค์

ความรู้ด้วยตนเอง ริ่มตั้ง แต่การวางแผน การดำเนินกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ การทดลองพิสูจน์สิ่งที่

อยากรู้ การสรุปและนำเสนองาน
 
สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้นโครงการ เป็นระยะของการสร้างความสนใจให้กับเด็กที่นำไปสู่การเลือกเรื่องที่

ศึกษา ในระยะนี้อาจใช้สถานการณ์ต่างๆเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ช่วยกันเลือกเรื่อง เช่น การนำเสนอข่าว

นิทาน เหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
 
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาโครงการ ครู เพื่อให้เด็กสามารถทดลอง ค้นคว้า พิสูจน์คำถามที่ต้องการอยากรู้

ประเภท เด็กอาจจะต้องมีการศึกษาวิธีการคัดแยกขยะให้เป็นประเภทเพื่อนำไปสู่การจัดการขยะที่ถูกต้อง

- ถังเก็บขยะทั่วไป สีฟ้า รองรับขยะย่อยสลายไม่ได้ ไม่เป็นพิษ และคุ้มค่ากับการรีไซเคิล

- ถังขยะสีเขียว เป็นถังขยะที่รองรับขยะที่ย่อยสลายได้ ขยะเน่าเสีย สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักได้

- ถังขยะสีเหลือง รองรับขยะที่นำมารีไซเคิลหรือขายได้

- ถังขยะสีเทาฝาสีส้ม รองรับขยะมีพิษ ซึ่งเป็นขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ระยะที่ 3 ระยะสิ้นสุดโครงการ เป็นระยะของการประมวลสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงผล

ที่ได้รับจากการปฏิบัติตามโครงการ และแสดงนิทรรศการให้ฝ่ายต่างๆรับรู้และช่วยกันประเมินผล
 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Template by:

Free Blog Templates